บริการของเรา

คดีแพ่งคืออะไร

คดีแพ่ง คือ ข้อพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิ หน้าที่ ความรับผิดของบุคคลตามกฎหมายเอกชน ถ้าเป็นกรณีที่ต้องขอให้ศาลรับรองสิทธิตามกฎหมายจะทำเป็นคำร้อง แต่ถ้าเป็นกรณีมีข้อพิพาทหรือข้อโต้แย้งของบุคคลสองฝ่ายต้องทำเป็นคำฟ้อง

ตัวอย่างคดีแพ่ง

  • ฟ้องให้คู่สัญญาทำตามสัญญา
  • ฟ้องเลิกสัญญาและเรียกค่าเสียหา
  • ฟ้องให้คืนเงินกู้
  • ฟ้องเรียกคืนทรัพย์สิน
  • ฟ้องละเมิดเรียกค่าเสียหาย
  • ฟ้องหมิ่นประมาทเรียกค่าเสียหาย
  • ฟ้องให้ชำระเงินตามเช็ค
  • ฟ้องแย่งกรรมสิทธิ์
  • ฟ้องขอให้แบ่งกรรมสิทธิ์รวม
  • ฟ้องชู้
  • ฟ้องอำนาจปกครองลูก
  • ฟ้องหย่า
  • ฟ้องเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดู
  • ฟ้องให้แบ่งมรดก

ขั้นตอนไกล่เกลี่ยก่อนฟ้องคดีต่อศาล

คู่พิพาทอาจตกลงไกล่เกลี่ยกันได้ก่อนฟ้องคดี นอกจากช่วยลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินกระบวนการทางศาลเพราะไม่ได้นำข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนพิจารณาของศาลแล้ว ยังช่วยย่นระยะเวลาและทำให้ท่านได้รับความเป็นธรรมรวดเร็วขึ้น ทีมทนายของเรายินดีให้คำปรึกษาและช่วยไกล่เกลี่ยหาข้อยุติเพื่อให้ท่านได้รับความเป็นธรรม

ขั้นตอนเบื้องต้นในการให้คำปรึกษา อาทิเช่น

  1. สอบถามเหตุการณ์และข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น
  2. จัดเตรียมพยานหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พิพาท เช่น สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของคู่พิพาท, สำเนาทะเบียนบ้าน, และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่พิพาท
  3. ให้คำปรึกษาและแนะนำแนวทางยุติข้อพิพาท เช่น ทำหนังสือทวงถามไปยังคู่กรณีอีกฝ่าย, เป็นตัวแทนเพื่อช่วยไกล่เกลี่ยกับคู่กรณีอีกฝ่าย, ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ, หรือนำข้อพิพาทเข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการ

ขั้นตอนการฟ้องคดี

กรณีเกิดข้อพิพาทระหว่างเอกชนด้วยกันเอง คู่กรณีไม่อาจบังคับให้อีกฝ่ายชำระหนี้ได้โดยพลการ แต่ต้องใช้กระบวนการตามที่กฎหมายกำหนด การฟ้องคดีนั้น คู่กรณีอาจเคยไกล่เกลี่ยกันมาก่อนแล้วแต่หาข้อยุติไม่ได้จึงนำคดีมาฟ้องศาล หรือคู่พิพาทอาจใช้กระบวนการนี้เพื่อหาข้อยุติโดยที่ไม่เคยไกล่เกลี่ยกันมาก่อน

มีข้อสังเกตว่าแม้นำข้อพิพาทเข้าสู่การพิจารณาของศาลแล้ว แต่ในระหว่างนี้คู่กรณีก็ยังสามารถตกลงไกล่เกลี่ยกันได้เสมอ โดยอาจทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความกันเอง หรือให้ศาลพิพากษาตามยอมก็ได้
  1. ทนายสอบถามข้อเท็จจริงจากลูกความ เตรียมพยานหลักฐานและเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อร่างฟ้องและเตรียมแนวทางต่อสู้คดี
  2. ยื่นฟ้องต่อศาลเพื่อให้ศาลกำหนดนัดพิจารณาคดี
  3. ก่อนศาลพิจารณาคดี ศาลจะจัดให้คู่ความไกล่เกลี่ยกันอีกครั้ง หากหาข้อยุติได้ ศาลจะพิพากษาคดีตามยอม
  4. หากคู่ความหาข้อยุติกันไม่ได้ ศาลพิจารณาคดีไปตามรูปคดี
  5. ศาลมีคำพิพากษาไปตามรูปคดี